เอกสารสิทธิ์ที่ดินประเภทต่างๆ
- รายละเอียด
-
หมวด: อสังหาริมทรัพย์
-
เผยแพร่เมื่อ: 14 มกราคม 2557
-
จำนวนครั้งเข้าชม: 21735
เอกสารสิทธิ์ที่ดินมีหลายประเภทด้วยกัน เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีความสำคัญอย่างไร
เอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ออกโดยกรมที่ดิน
1. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)
คือใบแจ้งการครอบครองที่ดิน เป็นหลักฐานว่าตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค. 1 อีกแล้ว) ส.ค1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินเท่านั้น ดังนั้น ส.ค ๑ จึงทำการโอนกันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองเท่านั้น และไม่ยึดถือ พร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอน ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดนชอบแล้ว ผู้มี ส.ค.1 มีสิทธินำมาขอออกโฉนด หรือ น.ส 3 ,น.ส 3 ก และ น.ส.3 ข ได้ตามเงื่อนไขของทางราชการ
2. ใบจอง (น.ส.2)
คือหนังสือแสดงสิทธิ ที่ทางราชการออกให้เพื่อแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ผู้รับใบจองต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบจอง ที่ดินที่มีใบจองนี้โอนแก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดก เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไข ดังกล่าวแล้ว สามารถนำใบจองมาออกหนังสือ น.ส 3 ,น.ส 3ก. ,น.ส 3ข หรือ โฉนด ได้ ( แต่ห้ามโอน ตามเงื่อนไข ที่ กม.กำหนด)
3. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3,น.ส. 3 ก., และ น.ส .3ข.)
คือหนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดิน แล้ว แยกออก 3 ชนิดคือ
- น. ส .3
ออกให้แก่ผู้ครอบครองทั่วไป ในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน หรือออกในพื้นที่ที่ไม่มีรูปถ่ายทางอากาศ นายอำเภอเป็นผู้ออก
- น.ส.3 ก.
ออกใน ท้องที่ที่มีรูปถ่ายทางอากาศ โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ นายอำเภอเป็นผู้ออกเอกสารให้
- น.ส.3 ข
ออกในท้องที่ที่ไม่มี ระวางรูปถ่ายทางอากาศ และรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการ ตามประมวลกฏหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแล้ว (เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้ออก)
4. ใบไต่สวน (น.ส.5 )
คือหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฏหมายที่ดินได้ ถ้าที่ดินมีใบไต่สวนและมีหนังสือรับรองการทำปะโยชย์แสดงว่าที่ดินนั้นนายอำเภอได้รับรองการทำประโยชแล้ว เมื่อจดทะเบียนโอนจะต้องจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อน แล้วจึงมาจดแจ้งใบไต่สวน แต่ถ้าใบไต่สวนมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หรือไม่มีหลักฐานที่ดินใดๆ และเป็นที่ดินที่นายอำเภอยังไม่รับรองการทำประโยชน์ จะจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นการจดทะเบียนโอนมรดก
5. โฉนดที่ดิน
คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธ์ที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฏหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่า ‘ได้ทำประโยชน์แล้ว.” ซึ่งออกให้ตามกฏหมายเก่า แต่ถือว่ามีกรรมสิทธิเช่นกัน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินถือว่ามีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น อย่างสมบูรณ์ เช่นมีสิทธิใช้ประโยชย์จากที่ดิน มีสิทธิจำหน่าย เป็นต้น ส่วนโฉนดตราจอง มีลักษณะเหมือนโฉนดที่ดินทุกอย่าง ปัจจุบันมีใช้ 5 จังหวัดเท่านั้น คือ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย และ อุตรดิษถ์ กรมที่ดินกำลังจะเปลี่ยน โฉนดตราจองเป็นโฉนดที่ดิน ทำให้ในอนาคตจะไม่มีโฉนดตราจองอีกต่อไป
6. หนังสือกรรมสิทธิห้องชุด
ออกตาม พรบ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องจะมีกรรมสิทธิ ในทรัพย์ส่วนบุคคล คือห้องชุดของอาคาร และยังมีมีกรรมสิทธิร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น บันได ทางเดินระหว่างห้องชุด สนามเด็กเล่น สนามกีฬา และสระว่ายน้ำ เป็นต้น
เอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ออกโดยหน่วยงานอื่น
1. ส.ป.ก 4-01
2. สิทธิทำกิน (ส.ท.ก)
3. ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5)
4. หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3)